วิสัยทัศน์


วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลเมืองคอหงส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2557-2561) 

"คอหงส์...จะเป็นเมืองสำคัญ ชั้นนำของหาดใหญ่ ที่เพียบพร้อมเรื่องคุณภาพชีวิต มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
เป็นฐานผลิตทางวิชาการ เมืองธรรมาภิบาลการพัฒนา"
 


วิสัยทัศน์การพัฒนาเทศบาลเมืองคอหงส์ตามแนวทางคณะผู้บริหาร 

"คอหงส์...นครแห่งปัญญา สีเขียว น่าอยู่" 


พันธกิจหลักในการพัฒนา 
1.ให้การพัฒนาและการส่งเสริมทางด้านสังคมที่ทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทุกช่วงชีวิตตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงเชิงตะกอน ทั้งในมิติของการจัดสวัสดิการสังคมดูแลมารดาและเด็กการจัดการทางด้านการศึกษาเรียนรู้ทุกรูปแบบอย่างมีคุณภาพทั้งในละนอกระบบ การอนามัยสาธารณสุขและรักษาพยาบาล การสังคมสงเคราะห์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้ด้วยโอกาสในสังคม
2.ให้การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการระเบียบชุมชนและสังคม ทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อย การป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพปละประสิทธิผล ตลอดจนดารเสนิมสร้างความเข้มแข็ง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อปัจจัยคุกคามต่างๆให้เกิดแกชุมชนและสังคมในพื้นที่
3.บริหารจัดการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งมิติของการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย และมลพิษทางกลิ่น เสียง ตลอดจนการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ การบำรุงรักษาและจัดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในท้องถิ่น
4.ให้การส่งเสริมด้านการพาณิชกรรมการลงทุน เศรษฐกิจชุมชน ทั้งการประกอบอาชีพและการออมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว และการเสริมสร้างการมีภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองคอหงส์
5.ให้การส่งเสริม สนับสนุน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ศาสนกิจ และภูมิปัญญา อันเป็นอัตลักษณ์ที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยทุกเชื้อสาย ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
6.ให้การลงทุนทางด้านการวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างโอกาสและรองรับความเจริญเติบโตของเมือง ทั้งมิติการควบคุมผังเมืองและอาคาร ระบบการขนส่งคมนาคมทางบก ระบบการระบายน้ำ การวิศวกรรมจราจร ระบบสาธรณูปโภค ตลอดจนระบบเทคโนโลยีและการติดต่อสื่อสาร
7.บริหารจัดการและพัมนาบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล โดยอาศัยการวางแผนเป็นเครื่องมือเพื่อการพัฒนารวมทั้งเพื่อการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีการกำกับควบคุมด้วยการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเยื่อง มีการสร้างเครือข่ายและการติดต่อสื่อสารสองทางกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเทศบาล กอปรกับเทศบาลสามารถให้การบริการได้ตามความคาดหวังย่างประทับใจ ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านปัจจัยสนับสนุนต่างๆ ทั้งคน งบประมาณทรัพยากร เครื่องอุปกรณ์ ตลอดจนกระบวนการ/วิธีการดำเนินงาน